เครื่องมือแพทย์

เครื่องมือแพทย์

เครื่องมือแพทย์

เครื่องมือแพทย์ ปัจจุบันมีการใช้ อย่างแพร่หลายชนิด ทั้งแบบใช้ง่าย ที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น ผ้าก๊อซ สำลี พลาสเตอร์ เครื่องวัดความดัน หูฟังทางการแพทย์ อีกแบบคือ เครื่องมือแพทย์ ที่มีขั้นตอนการใช้ที่ยาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ และ ของเหลว เครื่องจี้ไฟฟ้า เป็นต้น

 

ชนิดของเครื่องมือแพทย์

การจำแนกเครื่องมือแพทย์ จะแบ่งได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันดังนี้

  1. อุปกรณ์การแพทย์ เช่น มีดผ่าตัด เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดเบาหวาน
  2. บริภัณฑ์การแพทย์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องอัลตราซาวด์
  3. วัสดุการแพทย์และวัสดุฝังในทางศัลยกรรม เช่น ถุงมือยางทางการแพทย์ ผ้าก๊อซ ซิลิโคน
  4. เครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง เช่น ชุดน้ำยาตรวจการติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) ชุดตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ เครื่องมือทันตกรรม เป็นต้น

 

อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ในการวินิจฉัยช่วยให้แพทย์วัดและสังเกต ผู้ป่วยทางด้านสุขภาพ ได้ในหลาย ๆ อย่าง ทำให้ได้การวินิจฉัย ซึ่งเมื่อวินิจฉัยได้แล้ว แพทย์ก็จะวางแผนการ รักษาที่เหมาะสมต่อ

 

อุปกรณ์ทางการแพทย์จะถูกพบ ได้ในห้องตรวจผู้ป่วยนอก ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ห้องฉุกเฉิน เช่นเดียวกันกับ ในหอผู้ป่วย และหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) โดยอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะพูดถึงต่อไปนี้อาจ ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก แต่จะช่วยให้รู้จักอุปกรณ์ ที่ถูกใช้บ่อย ๆ เหล่านี้โดยสังเขป

 

หูฟัง (Stethoscopes)

หูฟังน่าจะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่รู้จักกันดีที่สุด ซึ่งใช้ฟังเสียงหัวใจ เสียงปอด และแม้แต่เสียง การไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ

หูฟังช่วยวินิจฉัยภาวะต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ปอดอักเสบติดเชื้อ
  • หลอดลมอักเสบ
  • อาการใจสั่น
  • โรคหัวใจ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ

 

หูฟังยังถูกใช้ร่วมกับ เครื่องวัดความดัน (sphygmomanometer) เพื่อวัดความดันโลหิตอีกด้วย

หูฟังแบบ ใช้ไฟฟ้า (electronic stethoscpes) พัฒนาคุณภาพของเสียงเมื่อฟังเสียงโทนต่ำ ของเสียงหัวใจ หรือเสียงโทนสูงของปอด โดยอาจถูกต่อเข้า กับคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึก เก็บเสียงไว้ โดยเสียงที่ว่าอาจถูกส่ง ให้คนหลายๆคนได้ฟัง หรือส่งไปยังหูฟัง อื่นที่เชื่อมต่ออยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ในการฝึกฝนของแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ ประจำบ้านต่อยอด

 

เครื่องวัดความดัน (Sphygmomanometer)

มีหลักฐานการศึกษา ทางการแพทย์ที่พิสูจน์แล้วว่าการวัดความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญ ในการประเมินสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง

เครื่องวัดความดันช่วยวินิจฉัยภาวะต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (arterial hardening)
  • ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (arterial plaque)
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตสูง ยังเกี่ยวข้องกับหลายโรค โดยมีอุปกรณ์หลายชนิดที่ใช้วัดความดันโลหิต ได้แก่

เครื่องวัดความดัน โลหิตชนิดวัดด้วยมือ (manual sphygmomanometer) ซึ่งเชื่อถือได้มากที่สุด เครื่องวัดความดัน ชนิดใช้ปรอทไม่จำเป็นต้องทำการปรับ ให้เที่ยงตรงเป็นประจำ จึงใช้ในสถานการณ์ ที่มีความเสี่ยงสูง

เครื่องวัดความดันโลหิต ชนิดขดลวด (aneroid sphygmomanometer) มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า เล็กน้อย เนื่องจากอาจ เสียความเที่ยงตรงไปได้เมื่อตกกระแทก ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อย ในการทำงาน ดังนั้นเครื่องชนิดนี้รุ่น ที่มีที่หุ้มป้องกันจะช่วยลดโอกาส การเสียหายจากการตกได้ แต่เพื่อให้แน่ใจ ก็ควรตรวจสอบ ความเที่ยงตรงด้วย โดยเครื่องวัดความดันชนิด ขดลวดจะขึ้นตัวเลขค่าความดัน ให้อ่านได้ และมีลูกยางที่มีลิ้นกั้นอากาศ

เครื่องวัดความดัน จากนิ้วมือชนิดดิจิตัล (Digital finger blood pressure monitor) เป็นเครื่องวัดความดันที่เล็ก ที่สุดและพกพาง่ายที่สุด ซึ่งแม้จะใช้งานได้ง่าย แต่ความแม่นยำก็อาจน้อยกว่าหน่อย

เครื่องวัดความดัน ชนิดดิจิตัล (Digital sphygmomanometer) เป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์เช่นเดียวกับ เครื่องวัดความดันจากนิ้วมือชนิดดิจิตัล ซึ่งสามารถทำให้ปลอกแขนวัดความดันขยายใหญ่ขึ้นได้ทั้งจากการบีบมือ หรือโดยอัตโนมัติ เครื่องชนิดนี้ใช้งานง่าย แต่ไม่ได้วัดความดันโลหิตออกมาโดยตรง ตัวเลขที่วัดได้หมายถึงความดันของเส้นเลือดแดง (Arterial pressure) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของความดัน Systolic และความดัน Diastolic ซึ่งเครื่องวัดความดันชนิดนี้จะต้องมาประมวลผลอีกรอบว่าความดัน Systolic และความดัน Diastolic จะเป็นเท่าไหร่ เครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ในสถานที่ที่มีเสียงดังซึ่งเครื่องมือชนิดวัดมือจะด้อยประสิทธิภาพ เนื่องจากแพทย์จะต้องคอยฟังเสียง Korotkoff sound ในการวัดความดันโลหิตแบบวัดมือ

 

เครื่อง Opthalmoscopes

เครื่องมือนี้ถือด้วยมือได้ และทำให้แพทย์สามารถส่องดูจอตาของผู้ป่วยได้ เครื่องมือชนิดนี้มักใช้ในการตรวจสำหรับผู้ป่วยนอก

เครื่อง Opthalmoscopes ใช้วินิจฉัยภาวะดังนี้

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • จอประสาทตาลอก
  • ต้อหิน (glaucoma)

Direct ophthalmoscopes จะให้ภาพหัวตั้งที่มีกำลังขยายประมาณ 15 เท่า โดยเครื่องมือนี้จะถูกถือให้อยู่ชิดตาของผู้ป่วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

Indirect ophthalmoscpoes จะให้ภาพหัวกลับที่มีกำลังขยาย 2-5 เท่า โดยจะอยู่ห่างจากตาของผู้ป่วย 24-30 นิ้ว และแสงที่ใช้ส่องก็แรงกว่า ทำให้ตรวจผู้ป่วยต้อกระจกได้มีประสิทธิภาพมากกว่า Direct ophthalmoscopes

 

เครื่องตรวจหู Otoscopes

Otoscopes เป็นอุปกรณ์ถือด้วยมือ ที่ทำให้แพทย์สามารถตรวจดูในรูหูของผู้ป่วย และตรวจดูเยื่อแก้วหูผ่านทางเลนส์ขยายได้

Otoscopes ช่วยในการวินิจฉัยภาวะดังนี้

  • การติดเชื้อของหู
  • โรคเสียงดังในหู (Tinnitus) คือมีเสียงวิ้ง ๆ ในหู
  • สาเหตุของอาการบ้านหมุนหรือเวียนศีรษะ
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)
  • การอักเสบของหูชั้นนอก (Swimmer’s ear)

ส่วนหัวของ Otoscope จะมีไฟส่องอยู่ ซึ่งไฟและเลนส์ขยายจะช่วยให้เห็นหูชั้นนอกและหูชั้นกลางได้ ส่วนที่แพทย์สอดเข้าไปในรูหูเรียกว่า Speculum ชนิดใช้แล้วทิ้ง ซึ่งจะอยู่ในที่เก็บในห้องตรวจ ดังนั้น Speculum อันใหม่จะถูกใช้สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนไป

 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiographs)

การตรวจคลื่น ไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจการ ทำงานทางไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่งสามารถบันทึกอัตรา การเต้นของหัวใจ และ ความสม่ำเสมอได้ในระหว่างการตรวจ โดยทั้งคู่จะบ่งบอก ถึงปัญหาในหัวใจได้ แพทย์สามารถ อ่านผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยบอกได้ว่าขนาดและ ตำแหน่งของห้องหัวใจ เป็นอย่างไรบ้าง และการใช้งานที่สำคัญ ที่สุดของการตรวจนี้คือการวินิจฉัย ความเสียหายที่มี ต่อหัวใจ และประสิทธิผลของการรักษา ด้วยยาหรือการใส่อุปกรณ์

 

ปรอทวัดอุณหภูมิ (Thermometer)

ปรอทวัดอุณหภูมิ นั้นใช้ในทุกที่และการรักษาทุกระดับ ตั้งแต่การตรวจร่างกาย โดยทั่วไปจนถึงในแผนกฉุกเฉิน โดยในขณะนี้ มีปรอทวัดอุณหภูมิชนิด อิเล็กทรอนิกส์ที่ลดระยะเวลา ในการวัดอุณหภูมิลง โดยปรอทชนิดอิเล็กทรอนิกส์นี้ สามารถใช้กับร่างกายส่วนใด ก็ได้โดยเฉพาะ เช่นในปาก การหนีบรักแร้ ทางทวาร หรือในหู

 

กลับสู่หน้าหลัก http://toolofnadrive.com