gps ติดรถยนต์ ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างและมีกี่ชนิดอะไรบ้าง
gps ติดรถยนต์ คือ การระบุตำแหน่งของวัตถุผ่านระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System: GPS) ซึ่งใช้เพื่อติดตามและระบุตำแหน่งของวัตถุนั้นๆจากระยะไกล โดยเทคโนโลยี GPS tracking นี้สามารระบุได้ครอบคลุมถึงพิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด, ลองจิจูด, ความเร็วบนภาคพื้น ทิศทางและเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นๆ ที่เราติดตามอยู่ได้ อุปกรณ์ติดตามตำแหน่งด้วย GPS ที่ออกแบบมาให้ติดตั้งในรถ เพื่อทำงานร่วมกับ ระบบติดตามรถ เพื่อตรวจสอบและติดตามการใช้งานรถ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบตำแหน่งรถแบบ Realtime ได้ทันที
ทำให้เราทราบว่า ปัจจุบัน รถกำลังมุ่งหน้าไปทางไหน ด้วยความเร็วเท่าไหร่ หรือมีการจอดแวะพักที่ตำแหน่งใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าไหร่ หรือสามารถเก็บข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น สถานะการติดเครื่อง/ดับเครื่องยนต์ ปริมาณน้ำมันในถัง อุณหภูมิห้องสินค้า การตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ขับขี่ หรือภาพ Video จากกล้อง
อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอส โดยทั่วไปนั้นจะใช้สำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แต่เนื่องด้วยปัจจุบันต้นทุนในการผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสนั้นถูกลง ทำให้คนทุกๆกลุ่มสามารถเข้าถึงอุปกรณ์นี้ได้ ซึ่งตัวรับสัญญาณจีพีเอสนอกเหนือจากที่จะติดตั้งไว้ในอุปกรณ์สำหรับนำทางแล้ว ยังได้ติดตั้งไว้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ตอีกด้วย
GPS tracking เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ดับเพลิง, การใช้งานในกองทัพและธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ซึ่งจากหน่วยงานที่กล่าวมาจะใช้ระบบการติดตามตำแหน่งรถยนต์หรือยานพาหนะ(AVL: Automatic Vehicle Location) ทั้งสิ้น
ซึ่งระบบติดตามยานพาหนะหรือที่ติดตั้งในรถยนต์นั้นโดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุหรือสัญญาณโทรศัพท์, อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอส รวมทั้งเสาอากาศเพื่อรับสัญญาณจีพีเอส โดยระบบเน็ตเวิร์คจะเชื่อมต่อผ่านระบบสัญญาณวิทยุหรือโทรศัพท์ไปยังระบบคอมพิวเตอร์
ที่มีหน้าที่แสดงผลตำแหน่งของรถยนต์หรือยานพาหนะนั้นเพื่อให้ทราบว่ารถยนต์หรือยานพาหนะนั้นอยู่ที่ตำแหน่งใด โดยจีพีเอสจะมีระบบการวิเคราะห์และจะไปแสดงตำแหน่งให้สอดคล้องกับแผนที่โลก
ซึ่งระบบติดตามยานพาหนะเป็นอีกระบบหนึ่งที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มความรับผิดชอบของบุคลากรและเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนการจัดส่งสินค้าหรือบริการต่างๆ ของบริษัท โดยระบบการติดตามรถยนต์หรือยานพาหนะที่เรียกกันว่า GPS tracking จะทำให้การบริหารและจัดการงานเหล่านี้มีประสิทธิภาพ ทั้งยังลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้อีกด้วย
GPS ในการใช้กับรถยนต์
GPS ที่ใช้กับรถยนต์ในปัจจุบันนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ GPS Navigator(อุปกรณ์สำหรับนำทาง) และ GPS Tracking(อุปกรณ์สำหรับติดตามวัตถุ สิ่งของต่างๆ) ซึ่งตอนนี้ GPS กำลังเป็นที่นิยมในภาคการขนส่ง และมี SIM โทรศัพท์ด้วย ให้ทำงานร่วมกับเครือข่ายโทรศัพท์เพื่ออัพเดทข้อมูลต่างๆ โดยมีระบบการทำงาน 2 แบบ คือ
1. GPS Tracking แสดงตำแหน่งแบบ Real time
จะแจ้งตำแหน่งผ่านการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถดูตำแหน่งได้แบบ Real time โดยการใช้งานของจีพีเอสในรูปแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างสูง รวมถึงยังต้องเสียค่าบริการให้กับผู้ให้บริการด้วย ทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์และเซิร์ฟเวอร์ การใช้งานจีพีเอสในรูปแบบนี้จึงนิยมใช้งานกับรถที่เป็นเชิงธุรกิจเป็นหลัก หรือไม่ก็รถที่มีราคาแพง เพราะการใช้งานในรูปแบบนี้จะมีฟีเจอร์อื่นๆให้เลือกใช้งานเพิ่มด้วยอีกมากแล้วแต่ของแต่ละรายไป
2. GPS Tracking แสดงตำแหน่งแบบไม่ Real time หรือแบบกึ่ง
ข้อดีของแบบนี้คือราคาถูกกว่าแบบ Real time และไม่มีค่าบริการรายเดือนในการใช้งานด้วย จึงนิยมที่จะใช้งานในรถยนต์ทั่วๆไปที่ไม่ต้องการดูรายละเอียดมากมายนัก หรือติดตั้งในรถจักรยานยนต์ ซึ่งเท่านี้ก็เพียงพอต่อความต้องการ เพราะอาจจะต้องการแค่ดูตำแหน่งเวลารถหาย โดยการใช้งานก็เพียงแค่ส่ง SMS เข้าไปที่ตัว GPS Tracking ให้ส่งพิกัดกลับมา ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่ง SMS เท่านั้น
รูปแบบของการติดตั้ง GPS Tracking
1. แบบติดตั้งเข้ากับระบบของรถยนต์
จำเป็นต้องมีช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ติดตั้ง จำเป็นต้องต่อกับแบตเตอรี่ของรถโดยตรง และยังมีฟีเจอร์อื่นๆให้ใช้งานได้ด้วย เช่น วัดระดับน้ำมัน, สั่งตัดการทำงานเครื่องยนต์, ตรวจจับรอบเครื่องยนต์, ตรวจสอบความเร็ว ฯลฯ
2. แบบติดตั้งเอง
จะใช้ซ่อนไว้ตามจุดต่างๆของรถยนต์ มีแบตเตอรี่สำรองในตัวเองให้สามารถใช้งานได้นาน หรือจะต่อสายไฟเล็กๆเข้ากับแหล่งพลังงานของรถยนต์ ให้ทำการชาร์ตแบตไปในตัวได้ gps ซึ่งบางรุ่นนั้นแบตเตอรี่สามารถใช้งานได้นานสูงสุดถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องชาร์ตแบต
การเลือกใช้ GPS Tracking
ถ้าต้องการติดตั้งในรถเพื่อติดตามงานในเชิงธุรกิจนั้น แบบ Real time ดูจะมีความเหมาะสมมากกว่า เพราะมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้มากกว่า ทั้งยังนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลและสรุปผลด้านต่างๆให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจอื่นๆได้อีกเยอะ
แต่ถ้าเป็นรถใช้ส่วนตัวแล้ว ไม่ต้องการรู้ข้อมูลอะไรเยอะแยะนอกจากดูตำแหน่งของรถ ซึ่งถ้าจุดประสงค์เพียงเท่านี้จีพีเอสแบบกึ่ง Real time ดูจะเหมาะสมมากกว่า
ระบบบอกพิกัดดาวเทียมอื่นๆที่คล้ายคลึงกับระบบ GPS ในปัจจุบันบันมีหลายระบบ ได้แก่
1. GLONASS (Global Navigation Satellite System)เป็นระบบของรัสเซีย ที่พัฒนาเพื่อ แข่งขันกับสหรัฐอเมริกาแต่ระบบนี้ยังใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ ใช้งานได้เฉพาะในรัสเซีย ยุโรปและแคนาดา
2. Galileo เป็นระบบที่พัฒนาโดยสหภาพยุโรปร่วมกับจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้และยูเครน แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2553
3. Beidou เป็นระบบที่กำลังพัฒนาโดยประเทศจีน โดยให้บริการเฉพาะบางพื้นที่แต่ในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาโดยให้ครอบคลุมทั่วโลกโดยจะใช้ชื่อว่า COMPASS
4. QZSS ระบบ ดาวเทียมของญี่ปุ่น ทำหน้าที่หลากหลาย ช่วยเสริมการหาตำแหน่งด้วย GPS โดยเน้นพื้นที่ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารสูงบดบังสัญญาณ GPS สำหรับ QZSS ถูกออกแบบให้มีวงโคจรเป็นเลข 8 โดยเต็มระบบจะประกอบด้วยดาวเทียม 3-4 ดวง
ประโยชน์ที่ได้จากระบบ GPS Tracking
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานขนส่งและบริหารยานพาหนะ ใช้ประกอบการตัดสินใจสมารถควบคุม ติดตาม สั่งการ และแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
- ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ควบคุมค่าใช้จ่ายการได้ทั้งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค้าซ่อมบำรุง สามารถควบคุมความเร็ว การใช้เครื่องยนต์ รวมทั้งวางแผนการซ่อมบำรุงด้วย
- ควบคุมตารางเวลาในการขนส่ง ช่วยส่งสิน้าได้ถูกต้องและทันเวลา ควบคุมการใช้เส้นทาง สามารถบอกลูกค้าได้ว่ารถอยู่ที่ไหน ถึงเมื่อไร และลดค่าแรงล่วงหน้าพนักงาน
- เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายมากทั้งสูญเสียทรัพย์สินและชื่อเสียง ช่วยควบคุมการขับรถไม่ให้ขับเร็วเกินไปหรือมีพฤติกรรมขับรถที่อันตราย
- เพิ่มภาพพจน์ของบริษัท ช่วยสร้างความมั่นใจและไว้วางใจการให้บริการลูกค้า
ข้อดี จากผู้ประกอบการขนส่งสินค้า
บริษัทผู้ประกอบการขนส่งสินค้าที่นำระบบเทคโนโลยี GPS มาใช้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เนื่องจากช่วงแรกที่เทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาในประเทศไทยนั้น
มีราคาอุปกรณ์สูงมาก เมื่อพิจารณาดูแล้วจะไม่คุ้มค่า ทั้งนี้จะพิจารณาจากมูลค่าของสินค้าที่อยู่บนรถขนส่ง แต่ในปัจจุบันบริษัทต่างๆก็เริ่มนิยมนำระบบ GPS มาใช้กับรถขนส่งของตน เนื่องจากสินค้าที่ส่งนั้นมีมูลค่าสูง เช่น รถขนเงินสด รถขนทองคำเครื่องประดับ รถขนของหรือสินค้าต่างๆที่มีมูลค่า
- ในแง่ของการลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายจากการเดินรถ ซึ่งเกิดจากการประหยัดค่าน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงอันเนื่องมาจากการออกนอกเส้นทาง, การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้, การขับรถเร็วซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสามารถตรวจสอบในเรื่องของการลักลอบดูดน้ำมันขายของพนักงานขับรถ
- ป้องกันการนำรถไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งจะช่วยในการลดพฤติกรรมการใช้งานรถที่ไม่เหมาะสม เช่น การหยุดพักที่นานเกินควร, การจอดรถติดเครื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะข้อมูลเหล่านี้เราจะเห็นแบบนาทีต่อนาที
- เป็นการเพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสม
- บริหารเวลาการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเดินรถให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถประมาณเวลาในการเดินทางได้
- สามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดส่งได้ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์วัดอุณหภูมิในห้องเย็น ทำให้สินค้าที่ลูกค้าได้รับจึงมีคุณภาพสูง
- เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจ ลูกค้าส่วนใหญ่จะรู้สึกดีเพราะสามารถติดตามการขนส่งสินค้าได้ตลอด สามารถตอบคำถามลูกค้าได้
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นข้อมูลจากผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ซึ่งได้มีการเสริมต่อในเรื่องของการบริการในอนาคตที่จะทำหน้าเว็บไซต์ให้ลูกค้าสามารถเข้ามาตรวจสอบการเดินทางของสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา
สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS